กศน.ตำบลบ้านม่วงยินดีต้อนรับ กศน.ตำบลบ้านม่วง เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ทุกภาคเรียน ภาคเรียนที่ 1 รับสมัคร วันที่ 1-30 เมษายน ภาคเรียนที่ 2 รับสมัคร วันที่ 1-30 ตุลาคม ของทุกปี

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556



กศน.ตำบลบ้านม่วง  ได้ดำเนินการเปิด กศน.ตำบลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  17 มิถุนายน 2553  โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่  องค์การบริหารส่วนตำบล  โรงเรียนวัดม่วง  เจ้าอาวาสวัดม่วง  ผู้นำชุมชน  กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อสม.   ภูมิปัญญาท้องถิ่น  นักศึกษาสายสามัญ และสายอาชีพ   คณะครูจาก กศน.ตำบลต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่ให้เกียรติมาร่วมงานในพิธีเปิด

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของชุมชน

ข้อมูลชุมชนตำบลบ้านม่วง

 

 

ศักราช ๑๐๐๐นั้นเป็นจุลศักราช เมื่อเทียบเป็นพุทธศักราช จะเท่ากับ (๑๐๐๐+๑๑๘๑) พ.ศ. ๒๑๘๑ ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๑๙๘) และหลังรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรประมาณ ๓๐ ปีเศษ

          จึงอาจจะเป็นได้ว่า ชาวมอญรุ่นแรกของบ้านม่วง อาจ จะอพยพมาในราวสมัยสมเด็จพระนเรศวรจริง และใช้เวลาใน การตั้งชุมชน และสร้างวัด และจารคัมภีร์ใบลานที่เก่าที่สุดในเวลาอีก ๓๐ ปีเศษต่อมา

          อย่างไรก็ตาม อายุของการจารคัมภีร์ใบลานผูกนี้ แสดงว่าในปี พ.ศ. ๒๑๓๑ สมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ปราสาททอง ได้มีวัดม่วงแล้ว และวัดม่วงมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕๔ ปี มาแล้วอย่างแน่นอน

     นั่นหมายความว่า ชุมชนมอญบ้านม่วง เป็นชุมชนที่เก่าแก่ กว่า ๓๕๔ ปีด้วย ชาวมอญในบ้านม่วงก็เช่นเดียวกับชุมชนมอญอื่น ๆ ในบริเวณฝั่งแม่น้ำแม่กลอง เช่น บ้านโป่ง โพธาราม ที่มีชาวมอญอพยพเข้ามาหลายครั้ง นับแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งอพยพมาจากเมืองมอญโดยตรง และ อพยพมาจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ และจากหมู่บ้านอื่น ๆ ในบริเวณแม่น้ำ แม่กลอง การหนีภัยสงคราม ตามมาอยู่กับเครือญาติ และการ แต่งงานระหว่างกัน

     “ชาวบ้านม่วงต่างเคร่งครัดในพระพุทธศาสนา มีวิถี ชีวิตที่เรียบง่าย ยังสามารถดำรงวัฒนธรรมเอกลักษณ์ ของชาวมอญอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น

     วัดม่วง เป็นศูนย์รวมจิตใจ และการศึกษาของชาว บ้านม่วง ตลอดชีวิตของชาวมอญบ้านม่วงนั้นเกี่ยวข้องกับวัด ตั้งแต่เกิดกระทั่งตาย พระโดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสจึงมี บทบาทเป็นผู้นำทางจิตใจ การศึกษา และการพัฒนาชุมชน

บ้านม่วง เป็นชุมชนมอญริมแม่น้ำแม่กลองที่เก่าแก่นับ แต่สมัยอยุธยาตอนกลาง และมีวัดม่วง เป็นศูนย์รวมจิตใจมา ตลอดจนทุกวันนี้ เป็นหมู่บ้านมอญที่ยังคงมีวัฒนธรรมมอญอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากประเพณีการนับถือผี และประเพณีเกี่ยว กับพุทธศาสนา
     อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี  อย่างไรก็ตาม การที่ชาวมอญบ้านม่วงนับถือผี และเคร่งครัดในพุทธศาสนา  ทำให้ชาวบ้านม่วงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ในการทำงานให้ชุมชนและวัด ทำให้ วัฒนธรรมเดิมยังดำรงอยู่ได้ และยังมีพลังในการ รักษาชุมชนหมู่บ้าน ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจภายนอก ที่กำลังท้าทายการเปลี่ยนแปลงภายในหมู่บ้านบ้านม่วง
      ปัจจุบันวัดม่วง มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมอญ ได้รับการจัด ตั้งเป็น ศูนย์มอญศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง มอญ และเก็บรวมโบราณวัตถุ เช่น คัมภีร์งาช้างจารึกอักษรมอญ ธรรมาสน์ พระพุทธรูป เครื่องใช้ในวิถีชีวิตมอญ รวมทั้งโรงเรียนวัดม่วงยังได้เปิดหลักสูตรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชุมชน จัดการเรียนการสอน นาฏศิลป์มอญ และหลักสูตรภาษามอญในโรงเรียนอีกด้วย